วิธีพูดโน้มน้าวให้คนอื่นเชื่อ

1. เชื่อในตัวผู้ฟัง ชอบและให้เกียรติพวกเขามั่นใจว่าเราทำให้เค้าเข้าใจได้

คุณอาจจะไม่เห็นด้วยกับพวกเขาและอยากจะเปลี่ยนความคิด ความรู้สึกหรือปฏิกิริยาเหล่านี้ แต่เราอยากบอกคุณว่าหากคุณไม่แคร์คนฟังก็จงอย่าพูดให้พวกเขาฟังตั้งแต่แรกเพราะคุณเป็นผู้เสนอที่จะให้ความรู้ หรือความคิดเห็นแก่พวกเค้าเองไงละ การพูดที่ดีคือการให้เกียรติผู้ฟังนั่นเอง คือยอมรับที่จะแลกเปลี่ยนความคิด

2. ให้สิ่งที่ต้องการแก่ผู้ฟัง

ให้คิดว่าการพูดหรือการนำเสนอของคุณคือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง แสดงให้พวกเข้าเห็นว่าไอเดียของคุณ – ไม่ว่าจะเป็น ความคิดริเริ่ม การเสนอแนวคิด โปรเจ็ค สินค้า หรือ บริการ – จะช่วยพวกเขาในการแก้ไขปัญหาหรือประสบความสำเร็จตามเป้าหมายสำคัญที่พวกเขาวางเอาไว้ได้

3. ต้องรู้ว่าผู้ฟังต้องการอะไร

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องการเปลี่ยนความคิดของผู้ฟัง เริ่มจากพยายามหาสิ่งที่คนฟังต้องการ หรือจุดประสงค์ของการฟังครั้งแรก แสดงให้เค้าให้เจอจากนั้นแสดงให้พวกเขาเห็นถึงคุณค่าถึงสิ่งที่คุณต้องการให้เห็นจากรูปแบบการสื่อสารต่างๆเช่น สื่อพิมพ์ เป็นต้น สิ่งที่คุณต้องการเปลี่ยนให้พวกเขาเห็นตาม 

4. อ้างเครดิตที่น่าเชื่อถือจากรูปธรรม

ข้อเท็จจริงและบุคลลอ้างอิง (ที่น่าเคารพนับถือ) ตารางและกราฟ เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงและคำนิยามจากบุคคลต่างๆ —สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในระดับที่แตกต่างกันออกไปต่อผู้ฟัง หลักฐานที่สร้างความน่าเชื่อได้มากต่อผู้คนคนหนึ่งอาจสร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้กับผู้ฟังอีกคน ดังนั้นสิ่งที่คุณจะยกมาอ้างอิงจึงควรสัมพันธ์กับระดับคสามรู้ อายุ และลักษณะของกลุ่มของผู้ฟัง ซึ่งคุณควรมีการประเมินก่อนทำการพูด (audience survey)

5. คนพูดคือศูนย์กลางความคิด

จงเชื่อในสิ่งที่คุณพูด ไม่ว่าไครจะแย้งอย่างไร อ้างจากข้อ 4 แสดงให้เห็นรูปธรรมให้มากที่สุดเพราะตัวคุณคือสิ่งที่คุณพูด ทุกอย่างของคุณ (ลักษณะ ความรู้ ประสบการณ์ คุณค่าที่แสดงออกมา) และวิธีการที่คุณใช้นำเสนอตัวเองไม่ว่าจะเป้นหน้าตา การยืน การใช้มือ แสดงออกต่างๆ จะเป็นตัวช่วยสร้างความน่าเชื่อถือสร้างเครดิตให้กับคุณ แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเป็นไปในทางเดียวกันกับสิ่งที่คุณพูด

cr. ohlor.com